แนวทางการพัฒนาการบริหารงานธุรการในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8

You are here:
  • KB Home
  • ประจำปีการศึกษา 2560
  • แนวทางการพัฒนาการบริหารงานธุรการในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8
Estimated reading time: 1 min
ชื่อเรื่อง (Thai) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานธุรการในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8
ชื่อเรื่อง (Eng) GUIDELINES FOR DEVELOPMENT OF GENERAL AFFAIRS ADMINISTRATION IN KANCHANABURI SECONDARY SCHOOLS UNDER SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 8
ชื่อผู้แต่ง (Thai) ปรารถนา คงคา
ชื่อผู้แต่ง (Eng) Prathana Kongka
ปี พ.ศ. 2560
ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา  การบริหารการศึกษา
อาจารย์ที่ปรึกษา วัชรี ชูชาติ
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานธุรการในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 และศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานธุรการในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ หัวหน้ากลุ่มงานบริหารทั่วไป และข้าราชการครู โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 293 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการบริหารงานธุรการในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับ คือ ด้านการบริการ ด้านการกำกับดูแลและด้านการปฏิบัติการ
2. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานธุรการในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี สรุปเป็นรายด้าน ได้ดังนี้
2.1 ด้านการปฏิบัติการ ควรมีความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน หน่วยงานจะต้องมีความพร้อมและสนับสนุนการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ มีความรวดเร็วในการส่งหนังสือให้ถึงมือ ผู้ปฏิบัติ อาจแจ้งเรื่องที่ต้องปฏิบัติต่อผู้รับผิดชอบด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังต้องศึกษาค้นคว้าข้อมูล ข่าวสาร และทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ มีการจัดทำแผนผังขั้นตอนการดำเนินงานให้เป็นระบบ การจัดระเบียบความเรียบร้อย เพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงาน หากมีกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่อยู่ผู้อื่นสามารถปฏิบัติงานต่อได้ทันที
2.2 ด้านการกำกับดูแล ควรมีการนิเทศกำกับติดตามงานของผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ที่ได้รับมอบหมาย ควรมีรูปแบบปฏิบัติชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร มีการจัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานรวมของโรงเรียนเพื่อกำหนดการติดตามงาน และการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ มีการปรึกษาหารือในการปฏิบัติงานบ่อย ๆ และมีการกระจายอำนาจหน้าที่ในการทำงาน
2.3 ด้านการบริการ ควรมีความร่วมมือ การสนับสนุนการปฏิบัติงาน มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและบุคคล และมีการให้คำแนะนำ การตอบคำถามปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติงานในความรับผิดชอบ ให้เพื่อนร่วมงานเกิดความเข้าใจและประทับใจ ให้การดำเนินงานไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

ABSTRACT
The purposes of this research were to study the state of the general affairs administration in the secondary schools, and to find out the development guidelines for the general affairs administration in Kanchanaburi secondary schools under the Secondary Educational Service Area Office 8. The sample was 293 heads of the general affairs sections and teachers selected by simple random sampling. The research instrument was a 5-level rating scale questionnaire with reliability of 0.90 to collect data which were analyzed in terms of percentage, mean and standard deviation.
The findings:
1. The state level of the general affairs administration in Kanchanaburi secondary schools under the Secondary Educational Service Area Office 8 was high overall and in separate aspects as written in descending order: service, supervision and operation.
2. The guidelines of for the general affairs administration in Kanchanaburi secondary schools:
2.1 The operation aspect, the operation should be continuously in motion with readiness and full support from the operating units, immediate document delivery to receivers using technological device to cope with information forwarding. Besides, the office personnel should be prepared for updated information regularly and the work process should systemized and regulated for the operating convenience for the work process to continue in case of the absence of the authorize personnel.
2.2 The supervision aspect, the job follow-up to the school administrators and the authorized personnel should be set up in a formal and clear-cut pattern in writing. The school operation schedules will be made for the follow-up activities and the operation should be proceeded continuously and efficiently. The work consulting should be regular and the authorization should be decentralized.
2.3 The aspect of service, the operation should be cooperated and supported by the offices and individuals and they should give suggestions and solutions to the problems in doing office duties to make understanding and satisfaction amongst colleagues for the effective performance achievement.

Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.

Views: 88