วิถีชุมชนคนบ้านเก่า: ศึกษากรณี ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อเรื่อง (Thai) วิถีชุมชนคนบ้านเก่า: ศึกษากรณี ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อเรื่อง (Eng) FOLK LIVING IN TAMBON BANKAO, MUANG DISTRICT, KANCHANABURI
ชื่อผู้แต่ง (Thai) สำเริง สายมาอินทร์
ชื่อผู้แต่ง (Eng) Sumreang Saymain
ปี พ.ศ. 2560
ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา  สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
อาจารย์ที่ปรึกษา ธง บุญเรือง
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ณรัชช์อร ศรีทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบททางด้านเศรษฐกิจ สุขภาพอนามัย สิ่งแวดล้อม การเมืองการปกครอง ภูมิปัญญาชาวบ้าน ปัญหาของชุมชน ผลกระทบต่อการเปิดด่านพุน้ำร้อน และโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย ข้อเสนอแนะ และแนวทางแก้ไขของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต่อการเปิดด่าน พุน้ำร้อน และโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ใหญ่บ้านตำบลบ้านเก่า ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และเป็นหัวหน้าครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในตำบลบ้านเก่า รวมประชากรทั้งหมด จำนวน 5,313 ครัวเรือน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้ตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วนในแต่ละหมู่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก สังเกต และการสนทนากลุ่มย่อย ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการทำการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ และค่าความถี่
ผลการวิจัย พบว่า
1. บริบททางด้านเศรษฐกิจ ในชุมชนยังไม่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ประชาชนมีรายได้ต่ำ อาชีพหลักทำการเกษตร มีที่ดินทำกินน้อย ขาดการออมและมีภาระหนี้สิน ด้านสุขภาพอนามัย
ส่วนใหญ่เป็นผู้มีสุขภาพดี และเอาใจใส่ดูแลสุขภาพทั้งตนเองและครอบครัว ด้านสิ่งแวดล้อม มีการใช้สารเคมีทำการเกษตรน้อย สภาพดินยังคงอุดมสมบูรณ์อยู่ ยังไม่มีความรู้เรื่องการจัดการขยะมูลฝอย ยังไม่มีความรู้และขาดการส่งเสริมจากภาครัฐในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปริมาณน้ำอุปโภคไม่เพียงพอ ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ชาวบ้านใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนเพื่อหาอาหาร และแหล่งท่องเที่ยวของหมู่บ้านยังมีน้อยมาก ด้านการเมืองการปกครอง ส่วนร่วมในรูปกลุ่มสมาชิกต่าง ๆ และเข้าร่วมตัดสินใจในการพัฒนาชุมชน ส่วนใหญ่มีการรับรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกองค์กรส่วนท้องถิ่นเป็นอย่างดี ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สำคัญได้แก่ การจักสาน การทำเฟอร์นิเจอร์จากไม้ พืชสมุนไพร มีการสืบทอดประเพณีที่สำคัญ ๆ ของหมู่บ้าน ขาดการสืบทอด
ภูมิปัญญาท้องถิ่น และไม่มีหน่วยงานเข้ามาดูแลสนับสนุนด้านภูมิปัญญา ปัญหาของชุมชน ได้แก่ ปัญหายาเสพติด ขยะมูลฝอย ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ความยากจน ขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค ที่ดินราคาแพง สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ การซื้อขายที่ดินซ้ำซ้อน การบุกรุกพื้นที่ป่า ความขัดแย้งของชุมชน ไฟป่า ความเข้มแข็งของชุมชน การเมือง และการสูญเสียวัฒนธรรมภูมิปัญญา อันเป็นผลมาจากการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของคนจากหลายพื้นที่ และการเปิดด่านพุน้ำร้อน ผลกระทบจากการเปิดด่านพุน้ำร้อนและโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย พบว่า ด้านเศรษฐกิจทำให้ที่ดินมีราคาแพงขึ้น ค่าจ้างแรงงานและค่าครองชีพสูงขึ้น ด้านสังคม มีผลกระทบ คือปัญหายาเสพติดเข้ามาในหมู่บ้าน การขยายตัวชองชุมชนอย่างไร้ระเบียบ และปัญหาอาชญากรรมเพิ่มขึ้น ด้านการเมืองการปกครอง มีการแข่งขันในการเลือกตั้งภายในท้องถิ่นสูง การผูกขาดอำนาจทางการเมือง มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงกันมากขึ้น ด้านสิ่งแวดล้อม มีการตัดไม้ทำลายป่า ทัศนียภาพถูกทำลาย ขยะมูลฝอย ผลกระทบสุดท้าย คือ มีแรงงานต่างด้าวเข้ามาในหมู่บ้านเข้ามาแย่งงานคนไทยในหมู่บ้านมากขึ้น และทำให้เกิดโรคติดต่อจากแรงงานต่างด้าว
2. แนวทางแก้ไข และข้อเสนอแนะของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต่อการเปิดด่านพุน้ำร้อน และโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย พบว่า ควรมีการจัดระบบโครงสร้างพื้นฐานเข้าไปสู่หมู่บ้านต่าง ๆ หน่วยงานของรัฐควรสอดส่องและเร่งแก้ไขปัญหายาเสพติดภายในพื้นที่ การจัดระบบฐานข้อมูลหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง และครอบคลุมทุกตำบล จัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว มีการมาตรการรักษาความปลอดภัย การกำจัดขยะมูลฝอย และสิ่งแวดล้อมของชุมชน ส่งเสริมความร่วมมือ และความสามัคคีกันในการพัฒนาชุมชน การจัดการเรื่องปัญหาแรงงานต่างด้าว และการจัดตั้งพื้นที่ของตำบลเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ

ABSTRACT
The research aimed to study the contexts of economy, health and hygiene, environment, politics, local wisdom, community problems, impact of Phu Namron Checkpoint opening and Dawei Deep Sea Port Project, suggestions, and guidelines from related sectors towards the Phu Namron Border Checkpoint opening and Dawei Deep Sea Port Project. The sample was 400 subjects from the population of 5, 313 households determined by Kcrejcie and Morgan Table at reliability of 95% gained by simple and stratified random sampling. A constructed questionnaire, an in-depth interview scale, observation and focus-group discussion with reliability of 0.97. were used to collect data which were analyzed in terms of percentage and frequency.
The findings:
1. The economic context, the community lacked economic strength owing to people’s low income from agriculture engagement, having small farmland, lack of saving and being in debt. The health and hygiene context, the people were mostly in good health, taking good care of themselves and their families. The environmental context, they used little chemical substances for agriculture, so the soil was still rich, however; they lacked knowledge of garbage elimination and lacked knowledge and support from the state sector in making organic fertilizers. Water for daily consumption and agriculture was inadequate. They made use of community forest for gathering food and they had very few local tourist spots. The political context, the people took part in group activities and decision-making in the community development, mostly realized the general election of representatives and members of the local organizations. The local wisdom context, the people did basketry, made furniture out of wood, used medicinal herbs, practiced important local traditions. However, the local wisdom was not handed down due to the lack of government units’ support. The community problems were drugs, garbage, lack of water for agriculture, poverty, inadequate water for daily consumption, high land price, polluted environment, illegal land trading, forest encroachment, conflicts in community, politics and the loss of wisdom culture resulting from the migrant settlement. The opening of the Phu Namron Border Checkpoint and the Dawei Deep Sea Port Project resulted in: economic aspect, higher land price, higher wage and cost of living; social aspect, drugs flowing in community, expanding of community without proper planning and more crime; political aspect, high competition in local election, political monopoly, and more buying votes; environmental aspect, deforestation, scenic beauty destruction, and garbage. And the last effect was that more alien workforce moved in and occupied the local jobs in community causing contagious diseases as well.
2. The guidelines and suggestions from all sectors towards the opening of the Phu Namron Border Checkpoint and the Dawei Deep Sea Port Project: infrastructure system should be provided the villages, the state units should be seriously interested in solving drug problems in the area, the database system should be updated continuously and serve the whole area, the budget should be set aside for tourism promotion, the security measures should be imposed, the garbage should be eliminated and take good care of community environment, cooperation and unity in community should be promoted, alien workforce problems should be properly managed, and the area should be established as the special economic zone.

Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.

Views: 724