วิถีชีวิตชุมชนคนบ้องตี้: ศึกษากรณี ตำบลบ้องตี้ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อเรื่อง (Thai) วิถีชีวิตชุมชนคนบ้องตี้: ศึกษากรณี ตำบลบ้องตี้ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อเรื่อง (Eng) BONG TI FOLK LIVING: CASE STUDY TAMBON BONG TI, SAI YOK DISTRICT KANCHANABURI
ชื่อผู้แต่ง (Thai) สำเภา จำรูญบวรรัตน์
ชื่อผู้แต่ง (Eng) Sampaow Jamrunbowornrat
ปี พ.ศ. 2560
ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา  สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
อาจารย์ที่ปรึกษา ธง บุญเรือง
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม พงษ์ไพบูลย์ ศิลาวราเวทย์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบททางด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพอนามัย สิ่งแวดล้อม การเมือง การปกครอง ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน ปัญหาของคนในชุมชนตำบลบ้องตี้ ศึกษาผลกระทบการเปิดด่านบ้านบ้องตี้ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ศึกษาข้อเสนอแนะ และแนวทางแก้ไขปัญหาในการพัฒนาหมู่บ้าน
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลบ้องตี้ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 2,945 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้ตัวอย่างจำนวน 340 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วนในแต่ละหมู่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.875 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ศึกษาบริบททางด้านเศรษฐกิจ ชุมชนยังไม่มีความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจ กล่าวคือ มีรายได้ต่ำ ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ไม่มีอาชีพเสริม ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ไม่มีเงินออม แต่ส่วนใหญ่ไม่มีภาระหนี้สิน ด้านสังคม ชุมชนส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว นับถือศาสนาพุทธ มีความรักใคร่กลมเกลียวกันดี ความเจริญต่าง ๆ ที่เข้ามาภายในหมู่บ้านทำให้สภาพทั่วไปของหมู่บ้านดีขึ้น เช่น การคมนาคม การโทรคมนาคม ตลอดจนระบบสาธารณูปโภค ด้านสุขภาพ ส่วนใหญ่มีสุขภาพแข็งแรงไม่มีภาวะโรคประจำตัว เพราะชาวบ้านได้รับการดูแลสุขภาพ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขภายในหมู่บ้าน สาเหตุการเจ็บป่วยส่วนใหญ่ของชาวบ้านเกิดมาจากการขาดการออกกำลังกาย ด้านสิ่งแวดล้อม สภาพภูมิประเทศของหมู่บ้านบ้องตี้ส่วนใหญ่รายล้อมไปด้วยธรรมชาติและภูเขา การทำการเกษตรมีเพียงช่วงฤดูกาลในช่วงหน้าฝนเท่านั้น สภาพดินยังอุดมสมบูรณ์ ประชาชนยังขาดความรู้ในเรื่องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยหมัก รวมถึงการจัดเก็บขยะและการจำกัดขยะ ภายในหมู่บ้านมีระบบประปา อ่างเก็บน้ำ จำนวน 6 แห่ง แต่ก็ยังไม่มีความเพียงต่อการบริโภค อุปโภค ด้านการเมืองการปกครอง ส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าร่วมเป็นกลุ่มสมาชิก มีเพียงกลุ่มคนไทยบางคนเท่านั้นที่เป็นกลุ่มอาสาสมัครเพื่อให้ความช่วยเหลือในกรณีที่หมู่บ้านมีกิจกรรม แต่ทุกคนที่ไม่ได้เป็นอาสาสมัครก็ช่วยเหลือกันทำกิจกรรมภายในหมู่บ้านเป็นอย่างดี มีการเข้าร่วมประชาคมหมู่บ้านอย่างสม่ำเสมอ มีการไปใช้สิทธิใช้เสียงในการเลือกทุกครั้ง ด้านภูมิปัญญาชาวบ้าน ส่วนใหญ่มีงานหัตถกรรมในด้านการจักสานจากไม้ไผ่ การแกะสลักตอไม้ และการทำเฟอร์นิเจอร์ ส่วนด้านภาษามีความหลากหลายด้านภาษาแต่ภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน ได้แก่ ภาษากะเหรี่ยง และประเพณีวัฒนธรรมที่เด่นชัดของหมู่บ้านมอญ คือ ประเพณีสงกรานต์ และประเพณีการเลี้ยงผีของชาวกะเหรี่ยง ด้านปัญหาของชุมชนบ้านบ้องตี้ ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และเพื่อการเกษตร เป็นปัญหาที่สำคัญที่สุด รองลงมาคือ ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า ปัญหายาเสพติด ปัญหาไฟป่า ปัญหาความยากจน ปัญหาที่ดินมีราคาแพง
2. ผลกระทบจากการเปิดด่านบ้านบ้องตี้ ด้านเศรษฐกิจ ทำให้ที่ดินมีราคาแพงขึ้น รองลงมาคือ ค่าครองชีพสูงขึ้น ด้านสังคม มีผลกระทบด้านการขยายตัวชองชุมชน รองลงมาคือ ปัญหายาเสพติดที่เข้ามาแพร่ระบาดในหมู่บ้าน ด้านการเมืองการปกครอง มีปัญหาด้านการซื้อเสียงขายสิทธิ์กันมากขึ้น และมีการผูกขาดทางด้านการเมือง ด้านสิ่งแวดล้อม มีปัญหาด้านการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อขยายพื้นที่ รวมถึงปัญหาขยะมูลฝอยที่เพิ่มมากขึ้น
3. ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ปัญหา ปัญหาที่พบมี 2 ด้าน คือ การขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และเพื่อการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรศึกษาปัญหาและสาเหตุของการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร เพื่อจะได้ร่วมกันหาวิธีการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เพียงพอสำหรับชุมชน และปัญหาด้านการต่อยอดของภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ถูกปล่อยปะละเลยไม่มีการเร่งอนุรักษ์ไว้ ดังนั้นองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรนำปราชญ์ชาวบ้านซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมาถ่ายทอดความรู้ ปลูกฝังให้เด็กได้มีการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อที่จะมิให้ สูญหายไป

ABSTRACT

The research aimed to study economic, social, health and hygiene, environment, politic, and local wisdom contexts in the community, to find out the community problems, to study the effects of the Bong Ti Border Checkpoint opening, and to study suggestions solution and guidelines for village development in Tambon Bong Ti, Kanchanaburi’s Sai Yok District. The research sample of 340 subjects selected from the population of 2,945 people in the subject area based on Krejcie & Morgan’s sampling table at a reliability level of 95% by stratified and simple random sampling. The instrument was an interview scale with reliability of 0.875 to collect data which were analyzed in terms of frequency, percentage and content analysis.
The findings:
1. The economic context, the community lacked economic strength, that is, the income was low because of the agriculture engagement without other supplementary earnings, and no land owning and saving either, mostly not in debt though. The social context, mostly, the community was of a single-household type, Buddhist religion, and loving relationship. The different incoming advancements made the community better living in general, transportation, telecommunication and infrastructure, for example. The health and hygiene context, most people were healthy because they were treated well by the public health authorities and volunteers in the village. Sickness was mainly caused by lack of exercises. The environment context, Ban Bong Ti was full of nature with mountainous topography. The agriculture was proceeded in only the wet season. The soil was still rich, but the people lacked knowledge of using organic fertilizers and compost including how to manage and eliminate garbage. The village got pipe water supplies from 6 reservoirs but not enough for consumption. The political context, most people did not join in the political groups. There were just some people joining the group as volunteers when the village had political activities. Not only the volunteers, but also the other villagers that facilitated the activities and participate in the community meeting and voted at any election regularly. The local wisdom context, the people engaged in bamboo weaving handicrafts, wood carving and furniture making. The people spoke a lot of languages, but the village’s unique language was Karen. The outstanding customs were the Songkran Festival of the Mon community and the ritual practice of spirit offering of the Karen. The problems of Ban Bong Ti, the lack of water supplies for daily consumption and agriculture was the most serious problem, and the deforestation, drugs, wildfire, poverty, and high land cost were seen as the second most serious problems.
2. The effects of the opening of Bong Ti Border Checkpoint were: the economic aspect, firstly the higher cost of land and secondly the higher cost of living; the social aspect, firstly the community expansion and secondly the problem of drugs prevailing in the village; the political aspect, the problem of more buying vote and the political monopoly; environment aspect, the problem of deforestation for more land use and more garbage.
3. Suggestions and solution guidelines, 2 major problems were found: one was the problem of inadequate water supplies for consumption and agriculture in the dry season. The related state units should study the problem and find the way to provide adequate water supplies for the community. The other was the problem of the local wisdom extension, most of which was ignored without preservation. The related organizations should, therefore, have the local gurus hand down the wisdom to the young for them to learn and disseminate the local cultural practices.

Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.

Views: 471