ชื่อเรื่อง (Thai) | พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 |
ชื่อเรื่อง (Eng) | ADMINISTRATORS’ LEADERSHIP BEHAVIOR PERCEIVED BY KANCHANABURI SECONDARY SCHOOL TEACHERS UNDER SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 8 |
ชื่อผู้แต่ง (Thai) | เบ็ญจวรรณ บุญสุวรรณ์ |
ชื่อผู้แต่ง (Eng) | Benchawan Boonsuwan |
ปี พ.ศ. | 2560 |
ปริญญา | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
สาขาวิชา | การบริหารการศึกษา |
อาจารย์ที่ปรึกษา | นิพนธ์ วรรณเวช |
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม | สุริยงค์ ชวนขยัน |
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จำแนกตามเพศและประสบการณ์ในการทำงาน
ตัวอย่างในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จำนวน 312 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่
ผลการวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนี้ ด้านการสนับสนุน ด้านการให้ความร่วมมือ ด้านการเน้นความสำเร็จ และด้านการชี้นำ ตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จำแนกตามเพศ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
3. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวมพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณารายคู่ พบว่า ประสบการณ์ทำงานต่ำกว่า 5 ปี กับประสบการณ์ในการณ์ทำงาน 5-10 ปี และ 11 ปีขึ้นไป มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ABSTRACT
The research aimed to study and compare the school administrators’ leadership behavior as perceived by the Kanchanaburi secondary school teachers under Secondary Educational Service Area Office 8, classified by gender and work experience. The sample was 312 teachers in the subject area, treated by a 5-level rating scale questionnaire with reliability of 0.81 to collect data which were analyzed in terms of percentage, mean standard deviation, t-test, one-way ANOVA, and Scheffe’s pair comparison at statistical significance of 0.05.
The findings:
1. The level of the administrators’ leadership behavior as perceived by the Kanchanaburi secondary school teachers under Secondary Educational Service Area Office 8 was highest overall and in separate aspects: encouragement, cooperation, achievement, and guidance respectively.
2. The comparison of the school administrators’ leadership behavior as perceived by the Kanchanaburi secondary school teachers under Secondary Educational Service Area Office 8, classified by gender, showed significant difference.
3. The comparison of the school administrators’ leadership behavior as perceived by the Kanchanaburi secondary school teachers under Secondary Educational Service Area Office 8, classified by work experience, showed significant difference overall. Separately, the administrators with under 5-year experience, 5–10-year experience, and 11-year experience upwards were significantly different.
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.