ชื่อเรื่อง (Thai) | บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 |
ชื่อเรื่อง (Eng) | ROLES OF ADMINISTRATORS IN HOLDING SCOUT EVENTS IN BASIC EDUCATION SCHOOLS UNDER KANCHANABURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 4 |
ชื่อผู้แต่ง (Thai) | รัตนพรรษ กลิ่นขจรนรัตน์ |
ชื่อผู้แต่ง (Eng) | Rattanapath Klinkhachornnarath |
ปี พ.ศ. | 2560 |
ปริญญา | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
สาขาวิชา | การบริหารการศึกษา |
อาจารย์ที่ปรึกษา | สุริยงค์ ชวนขยัน |
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม | จุมพจน์ วนิชกุล |
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา
ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 จำนวน 281 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า
1. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนรายด้าน พบว่า บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามค่าเฉลี่ย คือ ด้านการกำหนดนโยบายและแนวทางการปฏิบัติ ด้านการนิเทศ ติดตาม ด้านการประเมินและรายงาน และด้านการส่งเสริม สนับสนุน
2. ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการกำหนดนโยบายและแนวทางการปฏิบัติ ด้านการนิเทศ ติดตาม และด้านการประเมินและรายงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติการทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ของบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดกิจกรรมลูกเสือ จำแนกตามขนาดสถานศึกษา ในภาพรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นั่นคือ ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่มีบทบาทในการปฏิบัติมากกว่าสถานศึกษาขนาดกลางในการจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ABSTRACT
The purposes of this research were to study and to compare the roles of school administrators in managing scouting activities in basic education schools under Kanchanaburi Educational Service Area Office 4, classified by school sizes.
The sample group consisted of 281 school administrators, academic teachers in basic education schools under Kanchanaburi Educational Service Area Office 4, selected by simple random sampling. A constructed 5-level rating scale questionnaire with the reliability of 0.99 was used as a tool to collect data. The statistics employed for data analysis were percentage, mean, standard deviation, one way ANOWA, and pair difference test by Scheff’s method.
The research findings were as follows:
1. The roles of school administrators in managing scouting activities in basic education schools were overall and in each aspect at a high level, ranking in the order of mean from high to low as follows: supporting scouting activities, the policy formulation and implementation guidelines for monitoring, monitoring and evaluation and reporting and support are included.
2. The comparing result of the roles of school administrators in managing scouting activities in basic education schools, classified by school sizes, statistical significance were at 0.05 level. When considering each aspect, it was found that the policy formulation and implementation guidelines for monitoring, monitoring and evaluation and reporting. There were statistically significant differences at the 0.05 level. Moreover the pair difference test of the role of school administrators in scouting activities. There was a statistically significant difference at the 0.05 level, that is, large school administrators had a greater role in performing than the medium size schools.
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.