บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1

You are here:
  • KB Home
  • ประจำปีการศึกษา 2560
  • บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1
Estimated reading time: 2 min
ชื่อเรื่อง (Thai) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1
ชื่อเรื่อง (Eng) ROLES OF ADMINISTRATORS TO PROMOTE SUFFICIENCY ECONOMY PHILOSOPHY IN SCHOOLS UNDER KANCHANABURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1
ชื่อผู้แต่ง (Thai) สุทาทิพย์ บุญรอด
ชื่อผู้แต่ง (Eng) Suthathip Boonrod
ปี พ.ศ. 2560
ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา  การบริหารการศึกษา
อาจารย์ที่ปรึกษา จุมพจน์ วนิชกุล
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม สุริยงค์ ชวนขยัน

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อ การส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา และศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำนวน 210 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วนตามสถานศึกษาของแต่ละอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า
1. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้านเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย คือ ด้านการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมโครงการและกิจกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และด้านการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในสถานศึกษา
2. การเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
3. ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 พบว่า ด้านการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ที่เป็นปัญหามากที่สุด คือ การระดมทุนจากองค์กรหรือหน่วยงานหรือชุมชนเพื่อขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา แนวทางแก้ไขปัญหา คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรระดมทุนเพื่อมาสนับสนุนงานเพื่อขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาให้เข้มแข็ง ส่วนด้านการส่งเสริมโครงการ และกิจกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ที่เป็นปัญหามากที่สุด คือ มีการวัดผล ประเมินผล ครบทุกสาระวิชาที่เปิดสอนและนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาการขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น แนวทางแก้ไขปัญหา คือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการวัดผล ประเมินผล และนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาการขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และด้านการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอพียงมาใช้ในสถานศึกษา ที่เป็นปัญหามากที่สุด คือ บุคลากรมีจิตสำนึกด้าน
จิตอาสา จิตสาธารณะตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แนวทางแก้ไขปัญหา คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีการจัดอบรมบุคลากรด้านจิตอาสาเพื่อส่งเสริมหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ABSTRACT

The research aimed to study and compare the roles of the administrators to promote the Sufficiency Economy Philosophy in the schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 1, classified by school sizes, and to study problems and guidelines of their roles. The sample was 210 administrators and academic affairs teachers in the subject area gained by stratified sampling from each district’ schools. The research instrument was a 5-level rating scale questionnaire with reliability of 0.98 to collect data which were analyzed in terms of percentage, mean, standard deviation, one-way ANOVA, and Scheffe’s pair comparison.
The findings:
1. The level of the roles of the administrators to promote the Sufficiency Economy Philosophy in the schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 1 was high overall and in separate aspects as written in descending order: promotion of knowledge and understanding about learning management on the Sufficiency Economy Philosophy, promotion of projects and activities based on the Sufficiency Economy Philosophy, and participation of personnel to implement the Sufficiency Economy Philosophy in schools.
2. The comparison of the roles of the administrators to promote the Sufficiency Economy Philosophy in the schools classified by school sizes showed no significant difference.
3. The problems and guidelines: the aspect of promotion of knowledge and understanding about learning management on the Sufficiency Economy Philosophy, the most serious problem was caused by the lack of funding from the outside organizations, units or communities to implement the Sufficiency Economy Philosophy in schools. To solve this, the educational service area office should seriously set up fund to support the implementation of the Sufficiency Economy Philosophy in schools; the aspect of promotion of projects and activities based on the Sufficiency Economy Philosophy, the most serious problem was caused by the lack of the measurement and evaluation of every academic area taught in schools for making use of the results to efficiently implement the Sufficiency Economy Philosophy. To solve this, the administrators should enforce the measurement and evaluation of every academic area taught in schools for making use of the results to efficiently implement the Sufficiency Economy Philosophy; the aspect of participation of personnel to implement the Sufficiency Economy Philosophy in schools, the most serious problem was caused by the lack of volunteer-spirit and service-mind awareness of the personnel based on the Sufficiency Economy Philosophy principles. To solve this, the educational service area office should provide the personnel training programs on volunteer-spirit awareness to promote the Sufficiency Economy Philosophy principles.

Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.

Views: 116