ชื่อเรื่อง (Thai) | ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารกับประสิทธิภาพ ในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 |
ชื่อเรื่อง (Eng) | THE RELATIONSHIP BETWEEN THE SCHOOL ADMINISTRATOR’S WORKING BEHAVIOR AND EFFECTIVENESS IN ACCORDANCE WITH THE SECOND DECADE OF EDUCATION UNDER THE OFFICE OF KANCHANABURI PROVINCE UNDER SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 8 |
ชื่อผู้แต่ง (Thai) | ปวริศา สุดเขต |
ชื่อผู้แต่ง (Eng) | Pawarisa Sudkhet |
ปี พ.ศ. | 2555 |
ปริญญา | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
สาขาวิชา | การบริหารการศึกษา |
ประธานกรรมการควบคุม | สาโรจน์ เผ่าวงศากุล |
กรรมการควบคุม | จุมพจน์ วนิชกุล |
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริหาร ประสิทธิภาพของผู้บริหารสถานศึกษาในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง และความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรม การบริหารกับประสิทธิภาพของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดกาญจนบุรี ในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในจังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศีกษา เขต 8 จำนวน 287 คน วิธีการได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า กำหนดคำตอบเป็น 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด คือการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานและการฝึกอบรม ด้านที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากตามลำดับค่าเฉลี่ยคือ การควบคุมการปฏิบัติงาน และการเป็นผู้นำ สำหรับด้านที่มีค่าเฉลี่ยปานกลางคือ การปฏิสัมพันธ์และการมีอิทธิพลต่อกัน การติดต่อสื่อสาร การตัดสินใจ การจูงใจและการกำหนดเป้าหมาย ตามลำดับ
2. ประสิทธิภาพในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน คือ ด้านคนไทยยุคใหม่ ระดับปานกลาง 3 ด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยคือ ด้านครูยุคใหม่ ครูพันธุ์ใหม่และครูสาขาขาดแคลน ด้านสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ใหม่ และด้านการบริหารจัดการใหม่
3. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรรมการบริหารกับประสิทธิภาพในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของผู้บริหารสถานศึกษา ในจังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 พบว่าทั้งในภาพรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ABSTRACT
The purposes of this research were to study the relationship between the school administrator’s working behavior and effectiveness in accordance with the second decade of education under the office of Kanchanaburi Province under secondary educational
service area office 8 The sample group consisted of 70 school administrators teachers and 217 teachers in
Kanchanaburi Province under Secondary Educational Service Area Office 8, obtained by stratified random sampling. A constructed 5 level rating scale questionnaire with the reliability of 0.99 was used as a tool to collect data. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and Person’s product moment correlation co-efficiency.
The research findings revealed that :
1. The Buddhist progressive administration by school administrators was overall and each individual aspect at a high level, The highest mean values was administration, ranking in the order of mean from high to low as follows: physical feature, learning and teaching, atmosphere and interaction, and basic life activities.
2. The effectiveness in accordance with the second decade of education was overall and in each individual aspect at a high level, ranking in the order of mean from high to low as follows: The development of quality for Thai people in the New Era which was in great level. The second aspect which were also in The development of quality for teacher in the New Era and The development of quality for Schools and Learning Places in the New Era. The development of quality for the Re-Administration in the New Era which was in lowest aspect.
3. The relationship between the school administrator’s working behavior and effectiveness in accordance with the second decade of education under the office of Kanchanaburi province under secondary education service area office 8 were positively related with a statistical significance at the level of 0.01
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.