ชื่อเรื่อง (Thai) | ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารและการมีส่วนร่วมของชุมชนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 |
ชื่อเรื่อง (Eng) | THE RELATIONSHIP BETWEEN ADMINISTRATORS’ TRAITS AND THE COMMUNITY PARTICIPATION IN BASIC EDUCATION SCHOOLS UNDER KANCHANABURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3 |
ชื่อผู้แต่ง (Thai) | มนูญ นิมิตรเกาะ |
ชื่อผู้แต่ง (Eng) | Manoon Nimitrkoh |
ปี พ.ศ. | 2560 |
ปริญญา | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
สาขาวิชา | การบริหารการศึกษา |
อาจารย์ที่ปรึกษา | สุริยงค์ ชวนขยัน |
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม | นิพนธ์ วรรณเวช |
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับของคุณลักษณะของผู้บริหารในสถานศึกษา ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชน และความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารและการมีส่วนร่วมของชุมชนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา อายุราชการ/ระยะเวลาในการปฏิบัติงานเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูสายผู้สอนที่มิใช่กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 330 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ลักษณะทางสังคม รองลงมาคือบุคลิกภาพ ลักษณะที่เกี่ยวกับงาน สติปัญญาความรู้ความสามารถ ลักษณะทางกาย และน้อยที่สุดคือภูมิหลังทางสังคม
2. การมีส่วนร่วมของชุมชนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รองลงมาคือการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ และระดับการมีส่วนร่วมน้อยที่สุดคือ การมีส่วนร่วมในการประเมินผล
3. คุณลักษณะของผู้บริหารกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (r = 0.86) อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ABSTRACT
This research aims to investigate the level of administrator’ traits and the community participation and the relationship between administrator’traits and the community participation in basic education schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 3.
The sample consisted of 330 of administrators , teachers and director of basic education in basic education schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 3 , selected by simple random sampling. A constructed 5 – level rating scale questionnaire with the reliability of 0.92 was used as a tool to collect data. The statistics employed for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation coefficient, with a statistical significance at the level of 0.05
The research results revealed that:
1. The administrators’traits in basic education schools under Kanchanaburi primary educational service area office 3, was overall and in each individual aspect at a high level, ranking in the order of mean from high to low as social background, personality, task – related, intelligence and physical characteristics. At the lowest level was social background.
2. The community participation in basic education schools under Kanchanaburi primary educational service area office 3, was overall and in each individual aspect at a high level, ranking in the order of mean from high to low as dicition – making, benefits and implementations. At the lowest level was evauation.
3. The relationship between administrator’traits and the community participation development were positively correlated at a high level (r = 0.86), with a statistical significance at 0.01 level.
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.