ชื่อเรื่อง (Thai) | ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 |
ชื่อเรื่อง (Eng) | RELATIONSHIP BETWEEN ADMINISTRATORS’ EXERCISE OF POWER AND ACADEMIC AFFAIRS ADMINISTRATION IN SCHOOLS UNDER KANCHANABURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE |
ชื่อผู้แต่ง (Thai) | จันทรา แก้วพรายตา |
ชื่อผู้แต่ง (Eng) | Chuntra Kaeopraita |
ปี พ.ศ. | 2560 |
ปริญญา | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
สาขาวิชา | การบริหารการศึกษา |
อาจารย์ที่ปรึกษา | จุมพจน์ วนิชกุล |
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม | สุริยงค์ ชวนขยัน |
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา กับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 ตัวอย่างที่ใช้
ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำนวน 276 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการวิจัยพบว่า
1. การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่ผู้บริหารสถานศึกษาใช้อำนาจอยู่ในระดับมาก เรียงตามค่าเฉลี่ย คือ อำนาจจากการได้รับหรือการเป็นเจ้าของข้อมูล อำนาจจากการอ้างอิง อำนาจทางกฎหมาย อำนาจจากการเป็นผู้เชี่ยวชาญ อำนาจจากการเชื่อมโยง อำนาจจากการให้รางวัล ส่วนด้านที่ผู้บริหารสถานศึกษามีการใช้อำนาจในระดับปานกลาง คือ อำนาจจากการขู่เข็ญ
2. การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยคือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
3. ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา กับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 พบว่า ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในทางบวกอยู่ในระดับสูง
ABSTRACT
The research aimed to study the administrators’ exercise of power, the academic affairs administration in the schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 3, and the relationship between the administrators’ exercise of power and the academic affairs administration. The sample was 276 teachers in the schools in the subject area selected by simple random sampling and treated by a 5-level rating scale questionnaire with reliability of 0.97 as a tool to collect data which were analyzed in terms of percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s correlation coefficient at statistical significance of 0.01.
The findings:
1. The level of the administrators’ exercise of power was high overall. Separately, the high level of power exercise was shown in descending order of the following aspects: information power, referential power, legitimate power, expertise power, coordinating power, and rewarding power respectively. While the moderate level of power exercise was shown in the aspect of coercive power.
2. The level of the academic affairs administration was high overall as written in descending order: learning process development, learning measurement and evaluation, educational supervision, school-based curriculum development, and development of educational innovation and technology respectively.
3. The administrators’ exercise of power and the academic affairs administration in the schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 3 positively correlated at a high level overall.
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.