การประเมินโครงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบซิป สังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี

You are here:
  • KB Home
  • ประจำปีการศึกษา 2558
  • การประเมินโครงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบซิป สังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี
Estimated reading time: 1 min
ชื่อเรื่อง (Thai) การประเมินโครงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบซิป สังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี
ชื่อเรื่อง (Eng) EVALUATION VIRTUE LEAD KNOWLEDGE TO PHILOROPHY OF THE SUFFICIENCYECONOMY MUNICIPALITY KANCHANABURI
ชื่อผู้แต่ง (Thai) พิชญ์วัชร บุญเรืองรอด
ชื่อผู้แต่ง (Eng) Pitchawat Boonrangrod
ปี พ.ศ. 2558
ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา  วิจัยและประเมินผลการศึกษา
ประธานกรรมการควบคุม ศุภลักษณ์ สัตย์เพริศพราย
กรรมการควบคุม จีรวรรณ นาคพัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินโครงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบจำลองซิป (CIPP Model) และเพื่อหาแบบปฏิบัติที่ดี (best practice) ของโครงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา จำนวน 853 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
ตอนที่ 1 การประเมินโครงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา
1. ด้านบริบท พบว่า วัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
2. ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โรงเรียนมีการแต่งตั้งบุคลากรที่รับผิดชอบโครงการ บุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจ และมีจำนวนเพียงพอ โดยกิจกรรมของโครงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
3. ด้านกระบวนการ พบว่า มีการวางแผนดำเนินการที่ชัดเจน บุคลากรผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
มีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานครบทุกกิจกรรม มีการประเมินผลและสรุปผล การดำเนินงานของโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต ประกอบด้วยการประเมิน 2 ด้าน ดังนี้
4.1 ด้านผลการดำเนินงาน พบว่า มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีการชื่นชมความสำเร็จ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
4.2 ด้านผลกระทบ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เนื่องจากบุคลากรในแต่ละฝ่ายได้รับผลประโยชน์จากโครงการสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ตอนที่ 2 การปฏิบัติที่ดีหรือเป็นเลิศของโครงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา
โรงเรียนที่ดีหรือเป็นเลิศ ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ)
1. ด้านบริบท พบว่า บุคลากรของโรงเรียนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรม
2. ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า จุดเด่นของโรงเรียนมีการสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรในโรงเรียนเพื่อให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ
3. ด้านกระบวนการ พบว่า โครงการจะดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้อย่างเป็นระบบทุกขั้นตอน มีการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินกิจกรรมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
4. ด้านผลผลิต แบ่งเป็น 2 ด้านดังนี้
4.1 ด้านผลการดำเนินงาน พบว่า นักเรียนให้ความสำคัญ เต็มใจเข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมของโครงการเพิ่มมากขึ้น
4.2 ด้านผลกระทบ พบว่า ชุมชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการดำเนินการกิจกรรตามโครงการ

ABSTRACT
This research aims. Project-driven philosophy in schools. Under the Municipal Kanchanaburi By applying the model to evaluate the CIPP model (CIPP Model) and to find a good practice (best practice) of project-driven philosophy in schools of 853 research instruments were questionnaires and interviews. The statistics used in the analysis were mean, standard deviation. And content analysis The research results revealed that:
Part 1: An evaluation of the project
1. On the context, it was found that the objectives corresponded to the policy of the Basic Education Committee Office and of schools, in accordance with the state of school problems, with the mean at a high level.
2. On the input, it indicated that the enough personnel in charge of the project were appointed by schools. They were knowledgeable and understanding. , with the mean at a high level.
3. On the process, it revealed that schools followed the set operation plan.The implementation plan was clear and related personnel participated in setting the plan for all
activities based on the scheduled time. The mean was at a high level.
4. On the product, it was found that there was an evaluation of 2 aspects as follows:
4.1 On the output, it was found that had activities encourage knowledge and theactivity develops the students, with the mean at a high level.
4.2 On the impact, it indicated that it had difference was clear, personnel in each faction got useful from sufficiency economic principle, Also they were leading their life.
Part 2: The best practice of the project
It was discovered that teassban 3 School wa s the school with best practice of this project.
1. On the context, it revealed that school personnel and related people recognized the importance of the project and were determine to accomplish the project.
2. On the input, it followed that prominent point of school gave cherished possession for personnel in school for the output successful.
3. On the process, it indicated that all activities were carried out according to the plan was system. Supervision, follow-up, and evaluation .
4. On the product divide in 2 aspects as follows:
4.1 On the output, it showed that students gave importance, attend and minister the activities of project.
4.2 On the impact, it pointed out that the communities accepted and recognized the importance of carrying out all activities in the project

Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.

 

Views: 748