ชื่อเรื่อง (Thai) | การบริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการจัดการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 |
ชื่อเรื่อง (Eng) | RELATIONSHIP BETWEEN ADMINISTRATORS’ EXERCISE OF POWER AND TEACHERS’ TEAMWORK IN SCHOOLS UNDER KANCHANABURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2 |
ชื่อผู้แต่ง (Thai) | ปนิดา ทองผาโศภา |
ชื่อผู้แต่ง (Eng) | Panida Thongphasopa |
ปี พ.ศ. | 2560 |
ปริญญา | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
สาขาวิชา | การบริหารการศึกษา |
อาจารย์ที่ปรึกษา | วัชรี ชูชาติ |
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม | พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์ |
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านการจัดการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการจัดการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา
ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำนวน 282 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบส่วนประมาณค่า เป็น 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการจัดการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยคือ มาตรฐานที่ 12 สถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายใน ของสถานศึกษาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง รองลงมาคือ มาตรฐานที่ 8 ผู้บริหารปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล มาตรฐานที่ 7 ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล มาตรฐานที่ 11 สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพ มาตรฐานที่ 10 สถานศึกษามีการจัดหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน และมาตรฐานที่ 9 คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง ชุมชนปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
2. การเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการ
จัดการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลการทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ พบว่า สถานศึกษาขนาดเล็กมีการปฏิบัติมากกว่าสถานศึกษาขนาดใหญ่ และสถานศึกษาขนาดใหญ่มีการปฏิบัติมากกว่า สถานศึกษาขนาดกลาง เมื่อพิจารณาในรายมาตรฐาน พบว่า ทุกมาตรฐานมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นั่นคือ สถานศึกษาขนาดเล็กและขนาดใหญ่มีการปฏิบัติมากกว่าสถานศึกษาขนาดกลาง ยกเว้นมาตรฐานที่ 9 คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง ชุมชนปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล และมาตรฐานที่ 11 สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพที่สถานศึกษาขนาดเล็กมีการปฏิบัติมากกว่าสถานศึกษาขนาดกลาง
ABSTRACT
The objectives of this study were to study and compare the administration based on the basic education management standard in the schools under Kanchanabuir Primary Educational Service Area Office 3, classified by school sizes. The sample consisted of 282 administrators and teachers in subject area selected by two-stage random sampling. The research instrument was a 5-level rating scale questionnaire with reliability of 0.94 to collect data which were analyzed in terms of percentage, mean, standard deviation, one-way ANOVA, and Scheffe’ pair comparison at statistical significance of 0.05.
The findings:
1. The level of the administration based on the basic education management standard in the schools under Kanchanabuir Primary Educational Service Area Office 3 was high overall and in separate aspects as written in descending order: standard 12, internal quality assurance as designated in ministerial regulations; standard 8, efficient and effective duty performance of administrators; standard 7, efficient and effective duty performance of teachers; standard 11, school environment and service inductive to students’ full-potential learning; standard 10, inclusive curriculum, learning process, and student quality development activities; standard 9, efficient and effective duty performance of school committee, parents and communities respectively.
2. The comparison of the administration based on the basic education management standard in the schools under Kanchanabuir Primary Educational Service Area Office 3, classified by school sizes, was significantly different overall, and the pair comparison showed that the small schools took action more than the large ones, and the large schools did more than the medium ones. Separately compared, all standards showed significant difference, that is, the small and the large schools took more action than the medium ones except standard 9, efficient and effective duty performance of school committee, parents and communities and standard 11, school environment and service inductive to students’ full-potential learning, which the small schools took more action than the medium ones.
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.