ชื่อเรื่อง (Thai) | การบริหารงานวิชาการหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาญจนบุรี |
ชื่อเรื่อง (Eng) | THE ACADEMIC AFFAIRS ADMINISTRATION OF THE BASIC EDUCATION LEVEL OF NON-FORMAL EDUCATION CURRICULUM UNDER KANCHANABURI PROVINCIAL OFFICE OF NON-FORMAL AND INFORMAL EDUCATION |
ชื่อผู้แต่ง (Thai) | วันจันทร์ เซี่ยงว่อง |
ชื่อผู้แต่ง (Eng) | Wanjun Siangwong |
ปี พ.ศ. | 2560 |
ปริญญา | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
สาขาวิชา | การบริหารการศึกษา |
อาจารย์ที่ปรึกษา | นิพนธ์ วรรณเวช |
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม | สุริยงค์ ชวนขยัน |
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการ ศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขการบริหารงานวิชาการ หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาญจนบุรี
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ จำนวน 13 คน ครูการศึกษานอกโรงเรียนตำบล (ครู กศน.ตำบล) จำนวน 108 คน รวมประชากรทั้งสิ้น 121 คน ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาญจนบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ชนิด 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. การบริหารงานวิชาการหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาญจนบุรี โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การนิเทศภายในสถานศึกษา การดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การวัดผล ประเมินผล การเทียบโอนผลการเรียน การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาวิชาการด้านการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
2. ปัญหาและแนวทางการแก้ไข การบริหารงานวิชาการหลักสูตรการศึกษา นอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาญจนบุรี ดังนี้
ปัญหา พบว่าด้านครู ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการวัดผลประเมินผลการ เทียบโอนความรู้ เทียบโอนประสบการณ์ ครูมักติดการสอนแบบชั้นเรียนมากกว่ากระบวนการคิดเป็น ครูยังขาดทักษะในการประสานงานสร้างความตระหนักและเห็นคุณค่าของแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญา ครูขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ครูไม่มีทักษะ ความชำนาญในการใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา ครูขาดความรู้และไม่เห็นความสำคัญของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ประสิทธิภาพการสอนของครูลดลง เพราะครูเน้นให้ผ่านการประเมินประกันคุณภาพ และครูไม่เห็นความสำคัญของการวิจัยไม่เข้าใจว่าการวิจัยจะสามารถช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ ปัญหาด้านผู้เรียน นักศึกษามีความแตกต่างชอบเรียนตามความสนใจ นักศึกษามีความแตกต่างด้านสติปัญญา ร่างกายและครอบครัว ผู้เรียนขาดความรู้ทักษะ ประสบการณ์ในการเตรียมความพร้อมเรื่องการเทียบโอนประสบการณ์ ด้านสถานศึกษา ขาดการวางแผนการนิเทศอย่างเป็นระบบ สถานศึกษาไม่ให้การสนับสนุนเรื่องการวิจัย ขาดงบประมาณในการส่งเสริมการทำวิจัย งบประมาณในการนิเทศมีจำกัด ขาดงบประมาณในการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ขาดงบประมาณที่จะพัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่วนปัญหาด้านอื่น เช่น ผู้นิเทศมีจำนวนน้อย ไม่ได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องมีการนิเทศ ผู้นิเทศไม่จดบันทึกผลการนิเทศ หรือรายงานผลการนิเทศ เรื่องการจัดเก็บเอกสารหลักฐาน ร่องรอยการจัดกิจกรรมในพื้นที่ไม่เป็นระบบ ไม่ปัจจุบัน ยากต่อการค้นหา ขาดการประสานงาน ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชน ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วม ขาดการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงวิชาการระหว่างสถานศึกษาเครือข่ายชุมชนท้องถิ่น และขาดการจัดทำข้อมูลสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้
แนวทางการแก้ไข พบว่า สถานศึกษาควรจัดอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน ประชุมแลกเปลี่ยน หรือจะร่วมกับหน่วยงานภายนอกทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน เพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในทุกด้านที่ยังขาด ส่วนเรื่องงบประมาณที่ยังขาดสถานศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษาต้องให้การสนับสนุน อาจสนับสนุนเป็นสื่อ นวัตกรรมทางการศึกษา หรือเงินงบประมาณให้สถานศึกษาจัดหาเอง หรือจะขอรับการสนับสนุนจากองค์กรท้องถิ่นหรือชุมชน สถานศึกษาควรมีแผนการนิเทศที่เป็นระบบ สถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ควรหาเวทีนำเสนอเผยแพร่ หรือให้รางวัลแก่ครู ที่นำการวิจัยไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ส่วนครูต้องวางแผนประชาสัมพันธ์ชักชวนพันธมิตรเครือข่ายในชุมชนมาร่วมจัดกิจกรรมในแหล่งเรียนรู้ ครูควรจัดทำข้อมูลสารสนเทศแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้ง่ายต่อการสืบค้น ครูต้องวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนเพื่อปรับปรุงพัฒนากระบวนการเรียนการสอน เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือ มีการบูรณาการประสบการณ์ของผู้เรียน เน้นการค้นคว้าด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
ABSTRACT
This research aims to study Academic Affairs Administration of Non-formal Education Curriculum in Basic Education Level of Schools under the Office of Non-Formal and Informal Education, Kanchanaburi.
Populations used in this study are 13 directors of District Non-Formal and Informal Education Center and 108 teachers in Sub-district Non-Formal Center, 121 populations from Kanchanaburi Provincial Office of Non-Formal and Informal Education in total. The instruments used in the study are divided into 2 types: questionnaires and interview form. The five-level scale questionnaire with the reliability of 0.99 is used. The data were analyzed by percentage, mean and standard deviation. Content analysis is applied to the interview form.
The research found that:
1. Overall, there is a high level of practice of academic affairs administration of non-formal education curriculum in basic education level of schools under Kanchanaburi provincial office of non-formal and informal education. When each aspect is considered, it shows that there is a high level of practice in every aspect, in descending order i.e. internal supervision in schools, implementation of quality assurance in schools, evaluation, assessment, transfer of academic results, transfer of knowledge and experience, development of non-formal and informal learning processes, collaboration with the network for Academic Development in Non-formal and Informal Education Curriculum, development of curriculum, promoting and developing learning resources and local wisdom, development of media, innovation and technology for education, and research to improve the quality of education center.
2. Problems and solutions for Academic Affairs Administration of Non-formal Education Curriculum in Basic Education Level of Schools under Kanchanaburi Provincial Office of Non-Formal and Informal Education, are as follows.
Problems in term of teachers are teachers lack knowledge and understanding in measuring and assessing knowledge and experience transfer, teachers are more class-oriented than cognitive processes-oriented, teachers lack the skills to coordinate to raise awareness and value learning resources and wisdom, teachers lack knowledge and understanding in the curriculum development process of educational institutions, teachers lack the skills and expertise in using media, innovation and technology in education, teachers lack knowledge and do not see the importance of quality assurance within the institution, teachers’ teaching effectiveness decreased because they focus to pass the quality assurance only, and teachers do not see the importance of research and do not understand that research can solve problems and improve the quality of education. Problems in term of learners are students are different in their interests, students are different in intellect, body and family, students lack the knowledge, skills and experience in preparing for the transfer of experience. Problems in term of schools are school lack systematic supervision planning, schools do not provide research support, lack of budget to promote research, budget for supervision is limited, lack of budget for media development, innovation and technology in education, lack of budget to develop learning resources and local wisdom. Other problems are small number of supervision participants, they do not aware of the need for supervision, supervision participants do not record the supervisory results or supervisory reports, problem to keep documentary evidence, Signs of activity are non-systematic, out of date, difficult to find, lack of coordination for public relations to have networking parties participating the activity, lack of academic exchange activities between local community educational institutions network, and lack of information, local wisdom and learning resources.
Solutions are educational institutions should organize training, seminars, study tours, meeting, or coordinate with external agencies to make a memorandum of understanding to enable teachers to have an understanding of all aspects that are lacking. Educational institutions and agencies must provide supports for those activities that can be in form of education media or innovation and let the institutes find the budget by themselves or request for budget support from local administration organization or community. Schools should have a systematic supervision plan. The school should encourage teachers to study, analyze, and research. There should be a stage to publish such work or reward the teacher who conducts research to be used in teaching and learning. Teachers need to plan, promote, persuade, network partners in the community to organize activities in learning resources. Teachers should provide information, resources and local wisdom to make it easy to find. The teacher must analyze the problem condition and needs of the learner to improve the learning process focusing on the participants and use information technology as a tool with the integration of student experience and focus on self-research from various sources.
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.