การบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนเอกชน ในสังกัดสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2

You are here:
  • KB Home
  • ประจำปีการศึกษา 2560
  • การบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนเอกชน ในสังกัดสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2
Estimated reading time: 1 min
ชื่อเรื่อง (Thai) การบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนเอกชน ในสังกัดสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2
ชื่อเรื่อง (Eng) THE STUDENT AFFAIRS ADMINISTRATION OF PRIVATE SCHOOLS UNDER RATCHABURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2
ชื่อผู้แต่ง (Thai) คมสันติ์ สิงห์รักษ์
ชื่อผู้แต่ง (Eng) Komsan Singrak
ปี พ.ศ. 2560
ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา  การบริหารการศึกษา
อาจารย์ที่ปรึกษา วัชรี ชูชาติ
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 จำแนกตามขนาดของโรงเรียนเอกชน
ตัวอย่างอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนเอกชน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 จำนวน 299 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนเอกชน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ย คือ ด้านการส่งเสริมระเบียบวินัยของโรงเรียน ด้านการวางแผนงานกิจการนักเรียน ด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน และด้านการบริหารงานกิจการนักเรียน
2. การเปรียบเทียบการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนเอกชน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยภาพรวม ขนาดเล็กและขนาดกลางกับโรงเรียนขนาดใหญ่และโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และโรงเรียนขนาดใหญ่กับโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นั่นคือ โรงเรียนขนาดเล็กและกลางมีการปฏิบัติมากกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่และโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ และโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ มีการปฏิบัติมากกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่

ABSTRACT

The purposes of this study were to study and compare the student affairs administration of the private schools under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 2, classified by school sizes. The sample was 299 administrators and teachers in the subject area, obtained by simple random sampling and treated by a 5-level rating scale questionnaire with reliability of 0.97 to collect data which were analyzed in terms of percentage, mean, standard deviation, one-way ANOVA, and Scheffe’s pair comparison at 0.05.
The findings:
1. The student affairs administration of the private schools in the subject area was high in action overall and in separate aspects as written in descending order: discipline promotion, student affairs planning, student care-taking system, democracy promotion in school, and student affairs administration respectively.
2. The comparison of the student affairs administration of the private schools in the subject area, classified by school sizes, showed that the small and medium schools were significantly different from the large and extra-large schools, and the large schools were significantly different from the extra-large schools at 0.01. The small and medium schools took actions more than the large and extra-large schools, and the extra-large schools did more than the large schools.

Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.

Views: 425