การดําเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อเขาสู่ประชาคมอาเซียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อําเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี

You are here:
  • KB Home
  • ประจำปีการศึกษา 2559
  • การดําเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อเขาสู่ประชาคมอาเซียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อําเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี
Estimated reading time: 2 min
ชื่อเรื่อง (Thai) การดําเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อเขาสู่ประชาคมอาเซียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อําเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อเรื่อง (Eng) OPERATION OF CHILD DEVELOPMENT CENTERS FOR ASEAN IN LOCAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATIONS, KANCHANABURI’S DAN MAKHAMTIA DISTRICT
ชื่อผุ้แตง (Thai) อารียา ยวงเพชร
ชื่อผุ้แตง (Eng) Areeya Yuangphech
ปี พ.ศ. 2559
ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา  การบริหารการศึกษา
อาจารย์ที่ปรึกษา สุริยงค์ ชวนขยัน
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม จุมพจน์วนิชกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานส่วนท้องถิ่น ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี ได้ตัวอย่างจำนวน 201 คน โดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ด้านส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ด้านบุคลากร และด้านอาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
2. ปัญหาและข้อเสนอแนะการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี ปัญหาการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มีดังนี้
2.1 ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปัญหาที่พบสูงสุด คือ ขาดความพร้อมในการจัดการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการสู่ประชาคมอาเซียน ข้อเสนอแนะ คือ จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ และดำเนินงานตามนโยบายที่วางไว้ให้มีประสิทธิภาพบรรลุวัตถุประสงค์
2.2 ด้านบุคลากร ปัญหาสูงสุด คือ ครูพี่เลี้ยง หรือผู้ดูแลเด็ก ขาดความรู้ ความเข้าใจเรื่องการจัดการศึกษาปฐมวัยเกี่ยวกับอาเซียน ข้อเสนอแนะคือ ดำเนินการพัฒนาบุคลากรศูนย์พัฒนา
เด็กเล็กให้มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัยกับอาเซียน
2.3 ด้านอาคารสถานที่สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ปัญหาที่พบสูงสุด คือ ขาดงบประมาณในการปรับปรุงภูมิทัศน์ ข้อเสนอแนะ คือ จัดภูมิทัศน์ให้สวยงามและร่มรื่น
2.4 ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ปัญหาที่พบสูงสุด คือ จัดกิจกรรมเกี่ยวกับอาเซียนยังไม่สอดคล้องกับหลักสูตรท้องถิ่น ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการปรับปรุงหลักสูตร จัดกิจกรรมและใช้สื่อให้เหมาะสมกับท้องถิ่น
2.5 ด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ปัญหาที่พบสูงสุด คือ ขาดการประชาสัมพันธ์ในการดำเนินงานกิจกรรมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ผู้ปกครองได้รับรู้เกี่ยวกับข้อมูลอาเซียน ข้อเสนอแนะคือ ประชาสัมพันธ์ให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับอาเซียน
2.6 ด้านการส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ปัญหาที่พบสูงสุด คือ ขาดการประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ข้อเสนอแนะ คือ สร้างเครือข่ายโดยร่วมมือระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น

ABSTRACT

The research aimed to study the operation of the child development centers
for the ASEAN community in the local administration organizations of Kanchanaburi’s
Dan Makhamtia District and to find out problems and guidelines of the operation.
The sample of 201 subjects comprised the local staff, children caretakers, parents of
the children in the centers, selected by simple random sampling and treated by a 5-
level rating scale questionnaire with reliability of 0.88. The data were analyzed in
terms of percentage, mean, and standard deviation.
The findings:
1. The level of the operation of the child development centers for the ASEAN
community in the local administrative organizations of Kanchanaburi’s Dan
Makhamtia District was high, overall and in separate aspects, as written in descending
order: administration of the child development centers; participation and support
from all sectors; promotion of early childhood development network; academic
affairs and curriculum activities; personnel; and buildings, environment and security.
2. The problems and guidelines of the center operation:
2.1 The aspect of administration of the child development centers, the
major problem was that the centers had inadequate budget and lacked
administrative readiness for entering the ASEAN community. The guideline, adequate
budget should be allocated and the planned policy should be efficiently operated
and achieved.
2.2 The aspect of personnel, the major problem was that the children
caretakers lacked knowledge and understanding about early childhood education in
terms of ASEAN. The guideline, teacher training on the ASEAN community will be
provided to the personnel of the centers.

2.3 The aspect of buildings, environment and security, the major problem
was the lack of budget for restoring the landscape. The guideline, the landscape of
the children centers should be beautifully-renovated and should look shady.
2.4 The aspect of academic affairs and curriculum activities, the major
problem was that the activities about ASEAN were not compatible with the local
curriculum. The guideline, the curriculum improvement, learning activities and
learning media application should be done.
2.5 The aspect of participation and support from all sectors, the major
problem was that the parents were inadequately made known about the operation
of the child development centers about ASEAN information. The guideline, all
sectors should be informed to attend the ASEAN activities.
2.6 The aspect of promotion of early childhood development network,
the major problem was that the centers lacked coordination with other units. The
guideline, the network should be built through the cooperation of households,
monasteries, schools and local administrative organizations.

Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.

Views: 74