การดำเนินการรักษาวินัยข้าราชการครูของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต3

You are here:
  • KB Home
  • ประจำปีการศึกษา 2560
  • การดำเนินการรักษาวินัยข้าราชการครูของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต3
Estimated reading time: 1 min
ชื่อเรื่อง (Thai) การดำเนินการรักษาวินัยข้าราชการครูของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต3
ชื่อเรื่อง (Eng) THE PERFORMANCE OF TEACHERS’ DISCIPLINES OF ADMINISTRATORS IN PRIMARY SCHOOLS UNDER KANCHANABURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3.
ชื่อผู้แต่ง (Thai) ประพัศร์ โพธิ์ทอง
ชื่อผู้แต่ง (Eng) Prapat Pothong
ปี พ.ศ. 2560
ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา  การบริหารการศึกษา
อาจารย์ที่ปรึกษา นิพนธ์ วรรณเวช
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม สุริยงค์ ชวนขยัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเพื่อเปรียบเทียบการดำเนินการรักษาวินัยข้าราชการครู ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต3 จำแนกตามประสบการณ์ในการเป็นผู้บริหารโรงเรียน
ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 ที่ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ ประจำปีการศึกษา 2555 โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ได้ตัวอย่างจำนวน 73 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการของเซฟเฟ่ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า
1. การดำเนินการรักษาวินัยข้าราชการครูของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านการเสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย ด้านการป้องกันมิให้ผู้ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย และ ด้านการดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาที่กระทำผิดวินัย
2. การเปรียบเทียบการดำเนินการรักษาวินัยข้าราชการครู ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการกาญจนบุรี เขต 3 จำแนกตามประสบการณ์
ในการเป็นผู้บริหารโรงเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อทดสอบรายคู่ พบว่า
ที่มีประสบการณ์ในการเป็นผู้บริหารโรงเรียนน้อยกว่า 5 ปี แตกต่างกับ ผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสบการณ์ ระหว่าง 5-10 ปี

ABSTRACT
This research aimed to investigate The Performnace of teachers’ disciplines of administrators in primary schools under Kanchanaburi primary Educational Service area Office 3. and to compare The Performnace of teacher’ disciplines towards the government teachers of the primary school administrators classified by genders and their experiences administrative.
The sample group consisted of 73 administrators who all worked during the academic year of 2012 from the primary schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 3. using Krejcie and Morgan’s table by simple random sampling. The instrument is a constructed questionnaire about the implementation of maintaining discipline towards government teachers of the primary school administrators according to 3 main aspects; strengthening and developing discipline, protecting break discipline, and operating disciplinary actions of 5-levels rating scales with the reliability of 0.98. It was used as a tool to collect data. The statistics employed for data analysis were percentage, mean , standard deviation, and t-test Dependent Samples by Pearson correlation coefficient for testing hypotheses and multiple comparison test by Scheffe’s method. The results of the research revealed that ;
1. The implementation of maintaining discipline on government teachers of the primary school administrators under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 3 was overall and in each individual aspect was at a high level ranking in the order of mean from high to low as follows; strengthening and developing discipline, protecting to not break discipline, and at the lowest level was operating disciplinary actions respectively.
2. Comparing the implementation of maintaining discipline on government teachers of the primary school administrators were classified by depending on sex and their experiences as a school administrator under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 3. was operated as strengthening and developing discipline, protecting to not break discipline, and implementing disciplinary actions,
it found that the different working experience as the school administrators were highly correlated which was statistically significant at the level of .05

Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.

Views: 73