ชื่อเรื่อง (Thai) | การจัดการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 |
ชื่อเรื่อง (Eng) | EDUCATION MANAGEMENT BASED ON EARLY CHILDHOOD EDUCATION CRITERIA IN SCHOOLS UNDER KANCHANABURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3 |
ชื่อผู้แต่ง (Thai) | สุภัคธีรา หงษ์โต |
ชื่อผู้แต่ง (Eng) | Supaktira Hongto |
ปี พ.ศ. | 2560 |
ปริญญา | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
สาขาวิชา | การบริหารการศึกษา |
อาจารย์ที่ปรึกษา | จุมพจน์ วนิชกุล |
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม | สุริยงค์ ชวนขยัน |
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการจัดการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 3 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา
ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำนวนทั้งสิ้น 137 คน จากสถานศึกษา 80 แห่ง โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วนตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเป็นแบบ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายมาตรฐาน พบว่า มาตรฐานที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มาตรฐานที่ 8 สถานศึกษามีการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามที่กำหนด ส่วนมาตรฐานที่มีการปฏิบัติในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ มาตรฐานที่ 6 ผู้บริหารปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล มาตรฐานที่ 5 ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล และมาตรฐานที่ 7 แนวการจัดการศึกษา
2. การเปรียบเทียบการจัดการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 3 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายมาตรฐาน พบว่า มาตรฐานที่ 7 แนวการจัดการศึกษา และมาตรฐานที่ 8 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลการทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ พบว่า ผู้บริหาร และครูผู้สอนของสถานศึกษาขนาดกลางมีการปฏิบัติมากกว่าผู้บริหาร และครูของสถานศึกษาขนาดใหญ่
ABSTRACT
The research aimed to study and compare the education management based on the early childhood education criteria in the schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 3, classified by school sizes. The sample was 137 administrators and teachers from 80 schools in the subject area gained by stratified sampling based on school sizes. The research instrument was a 5-level rating scale questionnaire with reliability of 0.97 to collect data which were analyzed in terms of percentage, mean, standard deviation, one-way ANOVA, and Scheffe’s pair comparison at statistical significance of 0.05.
The findings:
1. The level of the education management based on the early childhood education criteria in the schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 3 was high in action overall. Separately, standard 8: the schools’ internal quality assessment as designated, was found highest in action. Standard 6: the efficient and effective duty performance of the administrators, standard 5: the efficient and effective duty performance of the teachers, and standard 7: the education management guidelines, were found high in action in descending order respectively.
2. The comparison of the education management based on the early childhood education criteria in the schools, classified by school sizes, showed significant difference overall. Separately compared, standard 7: the education management guidelines, and standard 8: the schools’ internal quality assessment as designated showed significant difference. The pair comparison showed that the administrators and the teachers in the medium schools took more action than those in the large schools.
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.